รู้จักไฟ ภัยที่ใกล้ตัว

ไฟ Fire
มนุษย์มีความผูกพันกับไฟมาตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะมนุษย์เราจะต้องใช้ประโยชน์จากไฟ ไม่ว่าจะใช้ก่อไฟเพื่อให้ความอบอุ่นทำให้อาหาร
สุก หรือให้แสงสว่าง เมื่อเชื้อเพลิงไปรวมตัวกับออซิเจนจากอากาศในปริมาณที่พอเหมาะก็ทำให้เกิดพลังงานเกิดความร้อนหรือแสงสว่าง
ขึ้นแต่ไฟก็ก่อให้เกิดภัยอย่างมหันต์ หากมนุษย์เราประมาท

องค์ประกอบของไฟ Fire Triangle
การที่จะเกิดไฟขึันได้จะต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ

เชื้อเพลิง fuel ซึ่งอยู่ในสภาพของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ

ออกซิเจน ซึ่งมีอยูในอากาศประมาณ 21% โดยปริมาตร ที่ช่วยให้ติดไฟ แต่หากออกซิเจนลดต่ำลงเหลือ 16% ไฟก็จะไหม้ช้าลงหรือดับมอดไปเลย

ความร้อน ก็จะมีความร้อนที่ทำให้เชื้อเพลิงเปลี่ยนสถานะเป็นไอหรือก๊าซ ที่เราเรียกว่า ความร้อนถึงจุดวาบไฟ และอีกอย่างคือความร้อนถึงจุดติดไฟหรือจุดชวาลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเร็ว พอเพียงที่จะติดไฟได้จะมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับลักษณะทางสารสมบัติของเชื้อเพลิงด้วย    เมื่อมีองค์ประกอบทั้ง 3 ไฟก็จะเกิดลุกไหม้ขึ้น ฉะนั้น การที่จะดับไฟก็ก็ทำได้ ก็โดยเอาองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งอกเสีย ไฟก็จะดับ

วัตถุติดไฟได้อย่างไร

ไฟ มักจะเกิดจากการเผาไหม้สิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงได้ ในอากาศที่อุณหภูมิสูงพอ การเผาไหม้ คือ การเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างไอของสารที่อยู่ในเชื้อเพลิงกับออกซิเจนในอากาศซึ่งมักจะทำให้เกิดสารชนิดใหม่ นอกจากนี้ การเผาไหม้ยังทำให้เกิดความร้อนซึ่งมักจะเพิ่มอุณหภูมิรอบบริเวณของเชื้อ เพลิงนั้น ๆ แก๊สหุงต้ม น้ำมัน ไม้ เป็นสิ่งที่ติดไฟได้เพราะมีองค์ประกอบที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศได้ ผลของปฏิกิริยาที่สมบูรณ์คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ ซึ่งเรามองไม่เห็นและไม่ได้กลิ่น แต่หากว่าปฏิกิริยาไม่สมบูรณ์จะเกิดก๊าซคาร์บอนโมนอกไซด์ ควัน เขม่าขึ้น นอกจากนี้ สิ่งเจือปนอื่น ๆ ที่มีธาตุไนโตรเจน กำมะถัน จะถูกเผาไหม้กลายเป็นก๊าซที่เป็นพิษได้ด้วย เช่นเดียวกับก๊าซคาร์บอนโมนอกไซด์

จากประสบการณ์ เรารู้ว่าวัสดุต่าง ๆ ติดไฟได้ยากหรือง่ายต่างกัน เทียนไขจะติดไฟได้ต้องอาศัยไส้ที่ช่วยการติดไฟ ส่วนแก๊สหุงต้ม ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีคล้ายเทียนไขกลับติดไฟได้ง่ายมาก ทั้งนี้เป็นเพราะว่า การลุกเป็นไฟขึ้นอยู่กับสถานะของสาร แก๊สหุงต้มอยู่ในสถานที่พร้อมที่จะสัมผัสและปะปนกับออกซิเจนในอากาศอยู่แล้ว ส่วนสารของเทียนไข ต้องถูกหลอมและระเหยให้เป็นก๊าซด้วยไฟที่ไส้ จึงจะติดไฟต่อไปได้ กล่าวคือเปลวไฟของเทียนไขเกิดจากการเผาไหม้ก๊าซที่ได้ระเหยจากตัวเทียนไข และความร้อนที่เกิดขึ้นใน เปลวไฟกลับมาช่วยให้ไขหลอมและระเหยต่อไป

การลุกไหม้ของสารต้องพึ่งปัจจัย 3 อย่าง คือ เชื้อเพลิง (ไอของมัน) อากาศ (ออกซิเจน) ในสัดส่วนที่พอเหมาะ และอุณหภูมิที่พอเหมาะ จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ฉะนั้นการดับไฟ คือการที่ทำให้เกิดการขาดปัจจัยอย่างน้อย 1 อย่าง เช่น การปิดวาวล์ถังแก๊ส เป็นการทำให้ขาดเชื้อเพลิง การฉีดน้ำทำให้ลดอุณหภูมิและ ลดการสัมผัสกับออกซิเจนเป็นต้น

วัสดุบางชนิดติดไฟได้เมื่อถูกน้ำ เพราะมันทำปฏิกิริยากับน้ำทำให้เกิดความร้อนและก๊าซที่ติดไฟง่าย และความร้อนที่เกิดขึ้นจะช่วยเร่งปฏิกิริยาของก๊าซและสารต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณรอบข้างทำให้ไฟลามมากขึ้น ฉะนั้นการดับไฟด้วยน้ำจึงไม่ได้ผลดีเสมอไป ส่วนวัสดุบางชนิดมีองค์ประกอบซึ่งสามารถปลดปล่อยออกซิเจนออกมาได้เอง เช่น สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ วัสดุเหล่านี้ เมื่อติดไฟแล้วจะดับได้ยากมาก เพราะว่าปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้โดยไม่มีอากาศจากภายนอก ความไวไฟของวัตถุ ของเหลวมักจะมีการระเหยให้เป็นก๊าซอยู่ตลอดเวลา เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะมีการระเหยไปสัมผัสกับอากาศมากขึ้น หากของเหลวนั้นติดไฟได้ จะมีอุณหภูมิหนึ่งที่ผิวของของเหลวจะติดไฟได้ชั่วครู่เมื่อมีประกายไฟมาใกล้ อุณหภูมิต่ำที่สุดที่ของเหลวติดไฟชั่วครู่โดยอาศัยประกายไฟนี้ เรียกว่า จุดวาบไฟ (flash point) การใช้จุดวาบไฟจึงเป็นวิธีหนึ่งเพื่อประเมินความไวไฟของวัตถุ คือวัตถุที่มีจุดวาบไฟต่ำถือว่าไวไฟมากกว่า และจุดวาบไฟสูงถือว่าไวไฟน้อยกว่า ของเหลวที่สามารถติดไฟได้ เมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่สูงกว่าจุดวาบไฟ จะสามารถติดไฟในอากาศได้อย่างถาวรไม่จำเป็นต้องพึ่งประกายไฟก็ได้

จุดชวาล (autoignition point) คืออุณหภูมิต่ำสุดที่ของสามารถติดไฟได้เอง โดยไม่อาศัยประกายไฟ ของแข็งก็เช่นกันต้องอยู่ในอุณหภูมิที่สูงพอ จึงจะจุดติดไฟได้ ดังนั้นการติดไฟของฟืนจึงต้องอาศัย ฟาง กระดาษ และไต้ เพื่อให้วัสดุพวกนี้ติดไฟก่อน ความร้อนจากการเผาไหม้ทำให้เกิดอุณหภูมิสูงที่บางจุดของฟืนเป็นเวลานานพอ จึงติดไฟได้แ ม้ว่า ก๊าซบางชนิดจะติดไฟได้ง่าย แต่ก๊าซเหล่านี้ต้องผสมกับอากาศในสัดส่วนที่ถูกต้อง จึงจะติดไฟได้ ฉะนั้น แก๊สในถังแก๊สหุงต้มจะไม่ติดไฟภายในถังการเปิดวาล์วมากเกินไปก็ไม่ทำให้แก๊สติดไฟเช่นกันเพราะ สัดส่วนผสมกับอากาศที่ปากวาวล์ไม่พอเหมาะ การที่จะติดไฟได้ต้องเป็นส่วนผสมที่ห่างจากวาวล์พอควร สารพิษที่เกิดจากการไหม้ไฟ วัตถุที่ไม่เป็นอันตรายหลายชนิด เมื่อถูกไฟไหม้จะทำให้เกิดก๊าซพิษได้ เพราะว่าวัตถุเหล่านี้ถูกทำให้แตกสลายและรวมตัวใหม่โดยการเผาไหม้ให้เป็นสาร ประกอบของธาตุไนโตรเจน กำมะถันและคาร์บอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของวัตถุนั้น ๆ เช่น คาร์บอนโมนอกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการรวมตัวของธาตุต่าง ๆ ในวัตถุนั้นอาจทำให้เกิดสารพิษตัวใหม่ได้เช่นกัน ตัวอย่างของวัตถุธรรมดาที่ใช้ตามบ้านที่เป็นอันตรายได้
เมื่อเกิดไฟไหม้คือไม้ ผ้าม่าน ท่อพีวีซี วัตถุพลาสติกที่ทำมาจากการรวมตัวของหน่วยย่อย (monomer) มักจะไม่มีพิษ แต่เมื่อถูกไฟไหม้ บางส่วนจะกลับกลายเป็นสารพิษได้ เพราะหน่วยย่อยเหล่านี้จะแตกออก และแสดงความเป็นพิษของมัน เช่น ไวนิลคลอไรด์ (vinyl chloride) อะคริลาไมด์ (acrylamide) ไฮโดรเจนคลอไรด์ไฮโดรเจนไซยาไนด์  เป็นต้น

ความร้อนและรังสีที่เกิดจากไฟไหม้ การลุกไหม้ของวัตถุต่างชนิดกัน และความเร็วของการเผาไหม้ที่ต่างกัน ย่อมทำให้เกิดความร้อนไม่เท่ากัน ความร้อนที่เกิดขึ้นหากไม่มีการถ่ายเทจะทำให้อุณหภูมิในบริเวณการลุกไหม้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของเชื้อเพลิงมากขึ้น เชื้อเพลิงระเหยนี้ จะวิ่งหาอากาศและออกซิเจน เพื่อให้เกิดการเผาไหม้มาก ขึ้นเสมอฉะนั้น เวลาเกิดไฟไหม้รุนแรงภายในตึกที่ปิดมิดชิดพอควร หากเกิดการถ่ายเทอากาศได้ดีขึ้นทันทีทันใด เช่น หน้าต่างแตกหรือประตูเปิด จะเกิดเปลวไฟวาบขึ้นแรงมากเพราะเกิดการเผาไหม้ที่อัตราเพิ่มขึ้น และเพิ่มความร้อนซึ่งช่วยเร่งการเผาไหม้และเกิดอันตรายได้มากขึ้น

การถ่ายเทความร้อน มีกลไกที่จำแนกได้เป็น 3 อย่าง คือ

ก) การพาความร้อนไปด้วยการผสมกันกับอากาศหรือของเหลว เช่น อากาศร้อนจะขึ้นสูง และอากาศที่เย็นกว่าจะลงมาแทนที่ ทำให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ
ความร้อนจึงหมุนเวียนและผสมไปกับอากาศที่นำพามันไป ของเหลวก็เช่นกันจะหมุนเวียนไปได้

ข) การนำความร้อนไปด้วยของแข็ง เช่น การนำความร้อนจากห้องหนึ่งโดยนำผ่านท่อเหล็กไปยัง อีกห้องหนึ่ง หรือความร้อนภายในห้องที่เกิดไฟไหม้ถูกนำผ่านลูกบิด
ประตูออกมาข้างนอกห้อง

ค) การแผ่รังสี ตัวอย่างเช่น การที่ความร้อนจากหลอดไฟแผ่มายังมือที่วางอยู่ใต้หลอดไฟ ความร้อนนี้มิได้เกิดจากการนำพาโดยอากาศ เพราะว่าอากาศที่ร้อนจะลอยขึ้น
และไม่ลอยลงมาที่มือ หรือในกรณีความร้อนจากการผิงไฟ คือ รังสีความร้อนเป็นตัวหลักที่ทำให้เราร้อน เพราะว่าหากเอากระจกมากั้นระหว่างกองไฟกับ ตัวเราอย่างรวดเร็ว
ตัวเราจะรู้สึกเย็นลงทันทีทั้ง ๆ ที่บริเวณที่เรายืนอยู่ยังไม่เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมากนัก

ฉะนั้น ในกรณีไฟไหม้ ควรระวังความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ และอุณหภูมิที่เป็นผลตามมา เราต้องรู้ว่าเชื้อเพลิงที่กลายเป็นก๊าซที่ติดไฟง่ายในห้องปิดที่มีอุณหภูมิ สูงจะ
วิ่งหาอากาศเมื่อห้องเปิด และความร้อนจากการแผ่รังสีจะเป็นอันตรายต่อผู้ที่เปิดประตูห้องทันที ขณะเดียวกันความรู้เรื่องกลไกถ่ายเทความร้อน จะทำให้เราระวังก่อน
จะจับต้องสิ่งของในบริเวณไฟไหม้ และระวังว่าต้องอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุพอสมควรเพราะเป็นการแผ่รังสีความร้อน

ประเภทของไฟ Fire Classification แบ่งตามลักษณะของเชื้อเพลิงได้ดังต่อไปนี้

1.ไฟประเภท A เป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง เช่นไม้ กระดาษ เสื้อผ้า อาคารบ้านเรือนไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงเหล่านี้
สามารถดับได้ด้วยการให้ความเย็น โดยใช้น้ำฉีดเป็นฝอยไปยังฐานของเพลิง

2.ไฟประเภท B ประเภทนี้เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว พวกน้ำมันหรือแก็สต่างๆ ซึ่งจะดับไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงชนิดนี้
ได้ด้วยวิธีป้องกันมิให้อากาศเข้าไปรวมตัวกับเชื้อเพลิงโดยการคลุมผิวหน้าของเชื้อเพลิง ด้วยต้องพยายามตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อนโฟม ผงเคมีสารจำพวกฮารอน หรือคาร์บอนไดออกไซด์

3.ไฟประเภท C ได้แก่ไฟที่ไหม้พวกอุปกรณ์เครื่องมือไฟฟ้าต่างๆ ก่อนอื่นต้องพยายาม
ตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน เพื่อจะลดอันตราย และเครื่องดับเพลิงที่ใช้ดับต้องไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่นฮารอน คาร์บอนไดออกไซด์

4.ไฟประเภท D เป็นไฟที่เกิดจากการลุกไหม้ของสารเคมีต่างๆ เช่น แมกนีเซียม ปุ๋ยยูเรีย วัตถุระเบิด

 

เครื่องดับเพลิงที่ใช้อยู่ทั่วไปจะกำหนดอย่าง ชัดเจนที่ฉลากว่าสามารถใช้กับ ไฟประเภทใดบ้าง การดับไฟ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น หากเรา
สามารถกำจัดหรือลดปัจจัยอย่างหนึ่งอย่างใดของ 3 ปัจจัย คือ เชื้อเพลิง ออกซิเจน และอุณหภูมิ เราจะสามารถดับไฟหรือลดความสามารถในการติดไฟได้ น้ำเป็นสิ่งที่คนใช้มากที่สุด เพราะมักจะสามารถลดอุณหภูมิของสิ่งที่กำลังติดไฟได้ และยังคลุมวัตถุไม่ให้ถูกต้องกับออกซิเจนมากเกินไปอีกด้วย โฟมก็เช่นกันจะทำหน้าที่กันการสัมผัสกับออกซิเจน และช่วยลดอุณหภูมิด้วย แต่โฟมส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำ จึงใชดับเพลิงของสารประเภทที่เป็นอันตรายเมื่อชื้นหรือเปียก ไม่ได้ เราต้องใช้โฟมพิเศษอย่างที่มีสูตรและส่วนผสมอื่น ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้น เนื่องจากมีความเย็นเมื่อออกจากถังดับเพลิง จึงสามารถกันไม่ให้ออกซิเจนเข้าไปพบสิ่งที่กำลังไหม้ไฟ และสามารถนำความร้อนออกมาบางส่วนด้วย สารเคมีแห้งที่ใช้กันทั่วไป เช่น แกรไฟท์ เกลือแกง แอมโมเนียมได ไฮโดรเจนฟอสเฟต มักจะทำหน้าที่ดูดความร้อนจากปฏิกิริยาเผาไหม้ ทำให้อุณหภูมิลดลง และสามารถเกิดก๊าซที่กันให้ออกซิเจนออกห่างได้อีกด้วย

กลไกอีกอย่างหนึ่งที่สารเคมีแห้งบางชนิดอาจจะ ใช้เพื่อดับไฟ คือ ทำให้หยุดลูกโซ่ปฏิกิริยาของอนุมูลอิสระในไฟ อันที่จริงแล้ว จากการวิเคราะห์อย่างละเอียด นักเคมีพบว่านอกเหนือจากเชื้อเพลิง อุณหภูมิ และออกซิเจนแล้ว การเกิดไฟไหม้ยังต้องอาศัยการสนับสนุนจากปัจจัยที่ 4 คือ อนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวช่วยเร่งปฏิกิริยาและให้ความร้อน ฉะนั้นสาร ที่หยุดลูกโซ่การเกิดอนุมูลอิสระในไฟได้จะดับเพลิงได้ และเราได้พิสูจน์แล้วว่า สารประเภทเฮลอน (halon) นั้น ดับเพลิงได้ เพราะหยุดการเกิดอนุมูลอย่างเป็นลูกโซ่เป็นส่วนใหญ่

ไฟเป็นพลังงานชนิดหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อมนุษย์อย่างมหาศาล เพราะไฟเป็นต้นกำเนิดของพลังงานต่างๆ ที่มนุษย์นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ ไฟ” อาจก่อให้เกิดภัยอย่างมหันต์ได้ หากขาดความรู้หรือขาดความระมัดระวังในการใช้และการควบคุม ดูแลแหล่งกำเนิดไฟ ประชาชนทั่วไปควรรู้ภยันตรายจากไฟไหม้ เพื่อจะได้มีแผนการควบคุมการใช้ไฟ การใช้ความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีการ ป้องกันและระงับอัคคีภัยเพื่อลดภยันตรายที่จะเกิดขึ้น

สิ่ง ที่ควรรู้ได้แก่ ภยันตรายจากไฟไหม้, การป้องกันและระงับอัคคีภัย, วิธีใช้เครื่องดับเพลิง, ขั้นตอนทั้ง 4 เมื่อมีไฟไหม้, หลัก 5 ต้องป้องกันไฟ, บัญญัติ 10 ประการในอาคารสูง,
และความรู้เบื้องต้นเพื่อพ้นอัคคีภัย และใช้แก๊สปลอดภัย 10 วิธี โดยมีรายละเอียดดังนี้

ภยันตรายจากไฟไหม้

1. ไฟไหม้จะมีความมืดปกคลุม ไม่สามารถมองเห็นอะไรได้ ความมืดนั้นอาจเนื่องจากอยู่ภายในอาคารแล้วกระแสไฟฟ้าถูกตัด หมอกควันหนาแน่น หรือเป็นเวลากลางคืน วิธีแก้ไข ติดตั้งอุปกรณ์ไฟส่องสว่างฉุกเฉิน ( Emergency Light ) ซึ่งทำงานได้ด้วยแบตเตอรี่ทันที ที่กระแสไฟฟ้าถูกตัด ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง เมื่อกระ แสไฟฟ้าถูกตัด เตรียมไฟฉายที่มีกำลังส่องสว่างสูง ไว้ให้มีจำนวนเพียงพอในจุดที่สามารถนำมาใช้ได้สะดวก ฝึกซ้อมหนีไฟเมื่อไม่มีแสงสว่าง ด้วยตนเองทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน ในโรงแรม หรือ แม้แต่ในโรงพยาบาล โดยอาจใช้วิธีหลับตาเดิน ( ครั้งแรกๆ ควรให้ เพื่อนจูงไป ) และควรจินตนาการด้วยว่าขณะนี้กำลังเกิดเหตุเพลิงไหม้

2.ไฟไหม้จะมีแก๊สพิษและควันไฟ ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในเหตุเพลิงไหม้ประมาณ ร้อยละ 90 เป็นผลจากควันไฟ ซึ่งมีทั้งก๊าซพิษ และทำให้ขาดออกซิเจน วิธีแก้ไข จัดเตรียม หน้ากากหนีไฟฉุกเฉิน (Emergency smoke mask) ใช้ถุงพลาสติกใส ขนาดใหญ่ตักอากาศแล้วคลุมศีรษะหนีฝ่าควัน (ห้ามฝ่าไฟ) คืบ คลานต่ำ อากาศที่พอหายใจได้ยังมีอยู่ใกล้พื้น สูงไม่เกิน 1 ฟุต แต่ไม่สามารถทำได้เมื่ออยู่ในชั้นที่สูงกว่าแหล่งกำเนิดควัน

3. ไฟไหม้จะมีความร้อนสูงมาก หากหายใจเอาอากาศที่มีความร้อน 150 องศาเซลเซียสเข้าไป ท่านจะเสียชีวิตทันที ในขณะที่เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วประมาณ 4 นาที อุณหภูมิจะสูงขึ้นกว่า 400 องศาเซลเซียส วิธีแก้ไข ถ้าทราบตำแหน่งต้นเพลิงและสามารถระงับเพลิงได้ ควรระงับเหตุเพลิงไหม้ ด้วยความรวดเร็ว ไม่ควรเกิน 4 นาทีหลังจากเกิดเปลวไฟควรหนีจากจุดเกิดเหต ุให้เร็วที่สุด ไปยังจุด รวมพล (Assembly area)

4. ไฟไหม้ลุกลามรวดเร็วมาก เมื่อเกิดเปลวไฟขึ้นมาแล้ว ท่านจะมีเวลาเหลือในการเอาชีวิตรอดน้อยมาก ระยะการเกิดไฟไหม้ 3 ระยะ ดังนี้

4.1 ไฟไหม้ขั้นต้น คือ ตั้งแต่เห็นเปลวไฟ จนถึง 4 นาที สามารถดับได้ โดยใช้เครื่องดับเพลิงเบื้องต้น แต่ผู้ใช้จะต้องเคยฝึกอบรมการใช้เครื่องดับเพลิง มาก่อน จึงจะมีโอกาสระงับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.2 ไฟไหม้ขั้นปานกลาง ถึงรุนแรง คือ ระยะเวลาไฟไหม้ไปแล้ว 4 นาที ถึง 8 นาที อุณหภูมิจะสูงมากเกินกว่า 400 องศาเซลเซียส หากจะใช้ เครื่องดับเพลิ เบื้องต้นต้องมีความชำนาญและต้องมีอุปกรณ์ จำนวนมากเพียงพอ จึงควรใช้ระบบดับเพลิงขั้นสูง จึงจะมีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ มากกว่า

4.3 ไฟไหม้ขั้นรุนแรง คือ ระยะเวลาไฟไหม้ต่อเนื่องไปแล้ว เกิน 8 นาที และยังมีเชื้อเพลิงอีกมากมายอุณหภูมิจะสูงมากกว่า 600 องศาเซลเซียส ไฟ จะลุกลามขยายตัวไปทุกทิศทางอย่างรุนแรงและรวดเร็ว การดับเพลิงจะต้องใช้ผู้ที่ได้รับการฝึก พร้อมอุปกรณ์ในการระงับเหตุขั้นรุนแรง

การดับไฟ Fire Extinguishment
การดับไฟจะทำได้สำเร็จและมีประสิทธิภาพเยี่ยมนั้น จะต้องมีแผนการที่วางไว้ล่วงหน้าและปฏิบัติตามแผนนการดับไฟจะทำได้สำเร็จและมีประสิทธิภาพเยี่ยมนั้น จะต้องมีแผนการที่วางไว้ล่วงหน้าและปฏิบัติตามแผนนั้นเมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้น แต่ความตระหนกตกใจมักจะทำให้ไม่ได้ทำ หรือทำไม่ได้ตามแผน ดังนั้นการที่จะดับไฟให้มีประสิทธิภาพ จะต้องมีก ารฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ และจะต้องเข้าใจลักษณะและองค์ประกอบของไฟเสียก่อน

วิธีการดับไฟ
การดับไฟ คือ การเอาองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างใดออกไป โดยแบ่งออกเป็น 3วิธี คือ
1.การตัดเชื้อเพลิง ไฟไม่สามารถลุกไหม้ต่อไปได้ถ้าปราศจากเชื้อเพลิง อาจทำได้โดยการลดกำลังดันของระบบ การถ่ายทิ้ง สูบน้ำมันออกจากถัง การปิดลิ้นหรือการเปลี่ยนทิศทางการไหล
2.การป้องกันออกซิเจนในอากาศรวมตัวกับเชื้อเพลิง ทำได้ 2 อย่าง คือ การใช้แก็สเฉื่อยไปลดจำนวนออกซิเจน หรือการใช้สิ่งที่ผนึกอากาศคลุมเชื้อเพลิงไว้ สำหรับพื้นที่ไฟไหม้ไม่ใหญ่โตนัก การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ ผงเคมีแห้งหรือไอน้ำ
3.การลดความร้อนที่จะทำให้เกิดการระเหย น้ำเป็นตัวสำคัญในการลดปริมาณความร้อน โดยเฉพาะฝอยละเอียดจะมีประสิทธิภาพมาก

เราคือผู้ผลิตอุปกรณ์ดับเพลิงครบวงจร

เครื่องดับเพลิง, ตู้ดับเพลิง, อุปกรณ์ดับเพลิง, สายดับเพลิง,
ข้อต่อดับเพลิง, หัวฉีดน้ำดับเพลิง, ไฟฉุกเฉิน, ป้ายทางหนีไฟ,
วาล์วดับเพลิง, ไฟอราม, พลาสติกคลุมเครื่องดับเพลิง

ชุดดับเพลิง,ถุงมือดับเพลิง,หมวกดับเพลิง

เราคือผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่ายโดยตรง ตอบโจทย์ได้ทุกคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัย

สอบถามสินค้าหาสินค้าที่ต้องการไม่พบ ติดต่อเราได้ค่ะ

 Tel : 02-7216923 MP:096-8931168 Line ID:@aro1988r Email : teamsafetysales@gmail.com

line @

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *